วันเสาร์ที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2554

กลยุทธ์ หน่วยที่ 1

หน่วยที่ 1 แนวคิดเกี่ยวกับการจัดการเชิงกลยุทธ์

 

ความหมายและความสำคัญและลักษณะของการจัดการเชิงกลยุทธ์

·         คือการบูรณาการความรู้แขนงต่างๆ มาวิเคราะห์ ตัดสินใจ และกระทำให้เกิดแผนการปฏิบัติ เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ขององค์การในระยะยาว
·         มีความสำคัญต่อธุรกิจ เนื่องจากเป็นชั้นเชิงในการบริหารให้ตนเหนือคู่แข่ง ก้าวสู่ความสำเร็จในอนาคตโดยมีทั้งประสิทธิผลและประสิทธิภาพ มีความสำคัญดังนี้
o   ช่วยให้องค์กรมีกรอบและทิศทางที่ชัดเจน โดยกำหนด วิสัยทัศน์ พันธกิจ วัตถุประสงค์ เพื่อกำกับการใช้ทรัพยากรอย่างเหมาะสม
o   ช่วยให้ผู้บริหารคิดอย่างเป็นระบบ ปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อมได้
o   ช่วยสร้างความพร้อมให้องค์กร สู่การเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้นในอนาคต
o   ช่วยสร้างประสิทธิภาพในการแข่งขัน ให้ได้เปรียบคู่แข่ง
o   ช่วยให้การทำงานสอดคล้องกับการปฏิบัติหน้าที่ เพื่อให้เกิดความเข้าใจตรงกัน และเกิดความร่วมมือในการก้าวสู่เป้าหมาย โดยสามารถลำดับความเร่งด่วนของงานได้
o   ช่วยให้องค์กรมีมุมมองที่ครอบคลุม โดยคำนึงถึงผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ปัจจัยภายในและภายนอก
·         การจัดการประกอบด้วย planning,  organizing,  leading, controlling, evaluating ซึ่งการจัดการเชิงกลยุทธ์จะนำปัจจัยภายนอกมาพิจารณาด้วย เพื่อให้แข่งขันระหว่างองค์กรได้ โดยมีลักษณะของการจัดการเชิงกลยุทธ์ ดังนี้
o   บริหารโดยมุ่งเน้นถึงอนาคต โดยสามารถเปลี่ยนเพื่อให้สอดคล้องกับสวล.ที่เปลี่ยนแปลงได้
o   บริหารโดยเน้นจัดการต่อการเปลี่ยนแปลงขององค์กร ทั้งโครงสร้าง เทคโนโลยี บุคลากร ทรัพยากร
o   บริหารแบบองค์รวม มุ่งเน้นการบรรลุสู่เป้าหมาย โดยการถ่ายทอดวิสัยทัศน์  เพื่อให้การดำเนินการไปสู่เป้าหมายเดียวกัน
o   บริหารโดยเน้นผลลัพธ์ในการดำเนินการ ซึ่งจะระบุวัตถุประสงค์ ตัวชี้วัดอย่างชัดเจน
o   เน้นบริหารโดยการให้ความสำคัญต้อผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย
o   มุ่งเน้นการวางแผนระยะยาว

 

กระบวนการจัดการเชิงกลยุทธ์  มี 4 ขั้นตอนคือ

1.     การวิเคราะห์เชิงกลยุทธ์ คือวิเคราะห์ถึงปัจจัยและสภวะต่างๆ เพื่อให้ทราบถึงทรัพยากร ความสามารถที่มีอยู่ ว่ามีจุดแข็งจุดอ่อนอย่างไร  มักใช้ SWOT analysis โดยแบ่งเป็น
o   การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายนอก
§  ซึ่งทำให้ทราบว่าเป็นโอกาสหรือข้อจำกัดของโครงการ โดยปัจจัยภายนอกนั้นมีทั้งประเภทโดยตรง เช่น นโยบายนโยบายกระทรวงสาธารณาสุข และปัจจัยโดยอ้อม เช่น เศรษฐกิจ
§  ขั้นตอนการดำเนินการวิเคราะห์มี 4 ขั้น คือ การตรวจสอบ (scanning) การติดตามและตรวจสอบ (monitoring) การพยากรณ์ (forecasting) การประเมิน (assessing)
o   การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายใน เพื่อทราบจุดแข็งและจุดอ่อนของตน เช่น การวิเคราะห์ตามสายงาน  การวิเคราะห์ตัวแปรตามห่วงโซ่ราคา การวิเคราะห์ทรัพยากร  ซึ่งมีวิธีการโดย
§  ระบุและแยกประเภททรัพยากรเป็นจุดแข็งจุดอ่อนโดยเทียบกับคู่แข่ง
§  ระบุความสามารถขององค์กร
§  ประเมินศักยภาพในการสร้างกำไรจากทรัพยากร
§  เลือกกลยุทธ์ขององค์กรที่ใช้ทรัพยากรอย่างเป็นประโยชน์สูงสุด
§  ระบุช่องว่างของทรัพยากรที่มีศักยภาพที่ต้องลงทุนเพิ่ม
2.      การกำหนดกลยุทธ์ เพื่อให้ผู้บริการกำหนดเป้าขององค์กรได้ โดยการกำหนดจะเริ่มจาก วิสัยทัศน์ พันธกิจ เป้าหมาย และวัตถุประสงค์
o   การกำหนดกลยุทธ์มีบรรทัดฐานในการตัดสินใจคือ
§  ต้องตอบสนองต่อสิ่งเร้าภายนอก
§  รักษาสถาภาพความได้เปรียบต่อคุ่แข่ง
§  กลยุทธ์แต่ละด้านสอดคล้องกัน
§  มีความยืดหยุ่น
§  กลยุทธ์สอดคล้องกับพันธกิจและเป้าประสงค์
§  เป็นไปได้ในการดำเนินการ
o   เทคนิคในการกำหนดกลยุทธ์จะใช้แตกต่างกันไปตามระดับกลยุทธ์ ดังนี้
§  ระดับองค์กร  มักนำข้อมูลจาก SWAT analysis มาประกอบ เช่น ใช้ TOWS matrix, แมทริกซ์ประเมินกลยุทธ์และตำแหน่ง, BCG matrix, แมทริกซ์กลยุทธ์หลัก
§  ระดับธุรกิจ มักนำปัจจัยทางธุรกิจมาพิจารณา เช่น แมทริกซ์การเจริญเติบโตของส่วนแบ่งการตลาด, แมทริกซ์วงจรชีวิตตลาด-จุดแข็งในการแข่งขัน
§  ระดับปฏิบัติการ จะยึดหลักการสร้างคุณค่าในสายตาและความต้องการลูกค้า โดยมีสินค้าที่ ดีดว่า ถูกกว่า รวดเร็วกว่า
3.      การนำกลยุทธ์สู่การปฏิบัติ จะมุ่งเน้นไปที่การดำเนินงานภายใน โดยกระตุ้นให้มีการเปลี่ยนแปลงในองค์กร สร้างแรงจูงใจในการพัฒนาศักยภาพ ปรับปรุงกระบวนการอย่างต่อเนื่อง สร้างวัฒนธรรมองค์กร โดยสิ่งสำคัญคือการถ่ายทอดกลยุทธ์สู่ระดับปฏิบัติการให้ได้  และผู้บริการต้องตอบได้ว่า ใครเป็นผู้กระทำ  ทำอะไร  และทำอย่างไร (who, what, how)
o   การนำกลยุทธ์สู่การปฏิบัติต้องมีการกำหนดรายละเอียดการปฏิบัติซึ่งจะประกอบไปด้วยองค์ประกอบ  4 อย่างคือ
§  การจัดสรรทรัพยากร มีการวางแผนการใช้อย่างมีประสิทธิภาพ
§  การปรับโครงสร้างองค์กร เพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงของการใช้กลยุทธืและใช้ทรัพยากร
§  การพัฒนาทรัพยากรบุคคล เพื่อให้รองรับกัลกลยุทธ์
§  การกระจายกลยุทธ์ไปสู่หน่วยย่อยในการปฏบัติ อาจทำให้เกิดเป้าหมายย่อยๆตามมา
o   ประเด็นสำคัญในการนำกลยุทธ์ไปสู่การปฏิบัติ มีสาระสำคัญ 5 ประการคือ
§  การวิเคราะห์โครงสร้างองค์กร  ว่ามีสมรรถนะและความสามารถในการดำเนินกลยุทธ์หรือไม่ โดยพิจารณาจาก structure, strategy, system, style, staff, skill, shared value โดยผู้นำต้องปรับปรุงแก้ไขให้พร้อม
§  วิเคราะห์วัฒนธรรมองค์กร โดยพยายามให้ทุกคนมีค่านิยมร่วมกัน (shared value)
§  การเลือกแนวทางในการตัดสินใจ จะแตกต่างกันไปตามสถานการณ์ เช่น แนวทางสั่งการ, แนวทางปรัปเปลี่ยน, แนวทางให้ความร่วมมือ, แนวทางวัฒนธรรม, แนวทางเพิ่มพูนความคิดเห็น
§  การวางกำหนดการเชิงกลยุทธ์ เป็นการแปลงกลยุทธ์อยู่ในรูปโครงการ แผนงาน
§  สร้างองค์กรแห่งการเรียนรู้
4.        การประเมินและควบคุมกลยุทธ์  โดยดูว่าการปฏิบัตินั้นมีประสิทธิภาพหรือไม่ เพื่อประโยชน์ในการปรับปรุง
o   วัตถุประสงค์ของการประเมิน
§  ติดตามการดำเนินการว่าเป็นไปตามแผนหรือไม่
§  ประเมินความเหมาะสมของแผนกลยุทธ์ และความสอดคล้องกับโครงสร้างขององค์กร
§  ประเมินการเปลี่ยนแปลงสภาพแวดล้อมที่สัมพันธ์กับกิจกรรม
§  เพื่อทราบผลการดำเนินงานที่เกิดขึ้น ว่าบรรลุตามวัตถุประสงค์หรือไม่
§  จัดรางวัลหรือผลตอบแทนได้เหมาะสม
o   กระบวนการประเมินและควบคุมกลยุทธ์  ผู้ควบคุมต้องกำหนดขั้นตอนปฏิบัติให้สอดคล้องกับระบบกลยุทธ์ โดยการควบคุมกลยุทย์ที่ดีและมีประสิทธิภาพ ต้องมีความยืดหยุ่น ข้อมูลถูกต้องชัดเจน และมีวิธีการหาข้อมูลที่ไม่ยุ่งยาก ซึ่งประกอบด้วยกระบวนการดังนี้
§  การกำหนดวัตถุประสงค์และสิ่งที่ต้องการควบคุมว่าเป็นเรื่องใดบ้าง
§  การกำหนดเกณฑ์และมาตรฐาน เพื่อให้มีวิธีการวัด และมาตรวัดที่เป็นรูปธรรม
§  การวัดผลการปฏิบัติงาน โดยวัดตามช่วงเวลาที่กำหนด
§  การเปรียบเทียบผลการปฏิบัติการกับมาตรฐาน
§  การปรัปปรุงแก้ไข
o   องค์ประกอบในการควบคุมกลยุทธ์ มี 3 ประการคือ
§  การติดตามผลการดำเนินการ (track status) เพื่อสร้างความมั่นใจว่าการปฏิบัติงานเป็นทิศทางที่ถูกต้อง
§  การรายงานความก้าวหน้า (communicate progress)
การวัดและประเมินผล (measurement and evaluation)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น