วันเสาร์ที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2554

กลยุทธ์ หน่วยที่ 5

หน่วยที่ 5 การกำหนดและเลือกกลยุทธ์ในระดับองค์การในการบริหารโรงพยาบาล
แนวคิด ระดับและขั้นตอนเกี่ยวกับการวางแผนกลยุทธ์
·         การกำหนดกลยุทธ์ที่เหมาะสมเป็นกระบวนการเรียนรู้ขององค์กรอย่างหนึ่ง เริ่มต้นจากการวิเคราะห์อนาคตที่ต้องการและปัจจัยภายนอกที่เปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ พจารณาเป็นฉากทัศน์แห่งอนาคต (future scenario) จากนั้นพิจารณาความสามารถหลักขององค์กร (core competency)  ช่องว่างที่เป็นจุดอ่อน และกระบวนการบริบาลองค์กร (governance)  ตามลำดับ เพื่อจัดการกับความไม่แน่นอนของสภาพแวดล้อมหรือลดการพึ่งพิงของทรัพยากร

ระบบบิการสุขภาพปัจจุบัน
ระบบที่เน้นสร้างคุณค่าแก่ประชากร เพื่อการแข่งขัน
คำจำกัดความ: เหมือนโภคภัณฑ์ จัดให้แบบแยกส่วน
เน้นบริการแบบครบวงจร ดูแลตลอดชีวิต
วัตถุประสงค์: ประหยัดต้นทุน เน้นประสิทธิภาพ
การให้บริการที่มีคุณภาพและปลอดภัยลดต้นทุนได้
กลยุทธ์: สร้างความสบาย เน้นให้มารักษาที่รพ.
ทำให้ผู้ป่วยรู้สึกว่าได้รับบริการอย่างมีคุณค่าและศักดิ์ศรี เน้นพื้นที่ที่ตนมีจุดแข็ง
ข่าวสารที่แจ้งแก่สาธารณะ: ความพึงพอใจของผู้ป่วย
ผลลัพท์ของการจัดการบริการ ภาระค่าใช้จ่าย ต้นทุนการเสียโอกาส
ทัศนคติและแรงจูงใจของผู้รับบริการ: ผู้ป่วยไม่ต้องรับผิดชอบต่อสุขภาว ทัศนคติแบบพึ่งผู้ให้บริการ
ผู้บริโภคมีส่วนร่วมในการจัดการสุขภาพของตนเอง แผนจำหน่ายจึงต้องครอบคลุมทุกมิติ
หน่วยงานที่ซื้อบริการ: ออกแบบสิทธิประโยชน์แบบจำกัดทางเลือก
ออกแบบให้ผู้บริโภคมีทางเลือกมากขึ้น

·         ระดับของการวางแผนกลยุทธ์สำหรับการบริหารโรงพยาบาล แบ่งเป็น 3 ระดับคือระดับชาติ ระดับเขตพื้นที่(จังหวัด) และระดับองค์การ โดยการวางแผนยุทธศาสตร์นั้นจะพิจารณาจาก วิสัยทัศน์ เป้าประสงค์ และยุทธศาสตร์ในการพัฒนา
·         ขั้นตอนการกำหนดและเลือกกลยุทธ์ระดับองค์การ  ผู้บริหารจะประเมินสภาพแวดล้อมทางการบริหารโดยใช้หลักฐานเชิงประจักษ์ต่างๆ ทบทวนกลยุทธ์กับผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ซึ่งมีขั้นตอนตามลำดับดังนี้
1.        การตรวจสอบผลการประกอบการโดยพิจารณาในภาพรวมขององค์การ โดยดูจากความสำเร็จในอดีต ว่าเข้าใกล้ตัวชี้วัดหรือไม่ มีการปฏิบัติการให้องค์กรก้าวหน้าหรือไม่ โดยใช้เครื่องมือ balanced scorecard, KPI, Gap analysis, variance analysis, lead indicator, lag indicator
2.        ทบทวนวิสัยทัศน์ เป้าประสงค์ เป้าหมาย และสร้างกลยุทธ์ไปข้างหน้าที่เป็นไปได้ขององค์กร โดยเลือกใช้เครื่องมือดังต่อไปนี้
§  Input stage tools เช่น ตารางประเมินปัจจัยภายนอก(EFE), ตารางประเมินปัจจัยภายใน(IFE), ตารางเปรียบเทียบสภาวการณ์แข่งขันกับองค์กรระดับเดียวกัน (CPM), five force model
§  เครื่องมือวิเคราะห์เพื่อประกอบเป็นการกำหนดทางเลือกกลยุทธ์ (Matching stage tools) เช่น
·         SWOT matrix (นำประเด็นที่คะแนนสูงๆ จาก EFE,IFE มาพิจารณาเพื่อสังเคราะห์กลยุทธ์
·         stage position & action evaluation matrix ใช้มิติทางการเงินและจุดแข็งภายใน
·         BCG matrix มุ่งเน้นการวิเคราะห์ทางการตลาด
·         GE matrix นำมิติทางการตลาดมาวิเคราะห์รวมกับความแข็งแรงของปัจจัยภายใน
·         internal external matrix  เป็นการนำ EFE, IFE มาประกอบการคำนวน
เทคนิคในการกำหนดและเลือกกลยุทธ์ระดับองค์การสำหรับการบริหารโรงพยาบาล
·        การตรวจสอบผลการประกอบการขององค์การ นิยมใช้ balanced scored เพื่อวิเคราะห์ และปรับทิศทางการดำเนินงานให้ถูกต้อง โดยการพิจารณาผลการประกอบการเป็น 4 ด้านดังนี้
·         ด้านการเงิน โดยดูตัวชี้วัดด้านการเงิน การบริหารความเสี่ยงทางการเงิน บริหารสินทรัพย์  ลำดับความสำคัญของกิจกรรมที่ก่อให้เกิดรายได้  เพื่อป้องกันการเกิดปัญหาด้านสภาพคล่องทางการเงิน
·         ด้านการพัฒนากระบวนการภายใน โดยตรวจสอบจาก internal process, IR, ค่ารายงานผลลัพธ์, รายงานของคณะกรรมการควบคุมภายใน, คณะกรรมการควบคุมการติดเชื้อ,  รายงานการใช้ยาและวัสดุสิ้นเปลือง, six sigma analysis, ผลการตรวจสอบวิเคราะห์เวชระเบียน ข้อมูลเหล่านี้จะกำหนดแนวทางการเลือกกลยุทธ์สำหรับปรับปรุงประสิทธิภาพและคุณภาพภายในด้านต่างๆ
·         ด้านผู้รับบริการ คือตรวจสอบความพึงพอใจของผู้ป่วยและญาติ ผุ้รับบริการกลุ่มต่างๆมีจำนวน บริการที่ใช้เปลี่ยนแปลงอย่างไร
·         ด้านการพัฒนาเรียนรู้และเติบโต ตรวจสอบนวัตกรรม ความรู้ของบุคลากร การลงทุนหาเทคนิกใหม่ๆมาใช้ ข้อมูลทางการบริการเกี่ยวกับการศึกษาของบุคลากร
·        การทบทวนวิสัยทัศน์ขององค์การ ต้องทำอย่างสม่ำเสมอ เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงของปัจจัยภายนอก ทำให้ต้องมีการปรับให้ทันและสอดคล้องกับความต้องการของลูกค้า นอกจากนี้ปัจจัยภายในเช่น ทฤษฎีการออกแบบโครงสร้างการบริหารงาน  แนวคิดเกี่ยวกับการบริหาร นวัตกรรมการบริหาร โครงสร้างบุคลากรที่หลากหลายและมากขึ้น เทคโนโลยีสนับสนุนการบริหาร ก็เปลี่ยนไปเช่นกัน
·        สิ่งที่ต้องตรวจสอบเกี่ยวกับวิสัยทัศน์ คือ ปรัชญา ความเชื่อ สมมุติฐานของผู้นำในโรงพยาบาลว่าเป็นผู้มีส่วนสำคัญในการนำหรือไม่อย่างไร   และใช้เครื่องมือเพื่อทบทวนวิสัยทัศน์ อาจเลือกจาก 3 เครื่องมือ ได้แก่
·         การคาดการณ์แนวโน้ม (trend projection) เป็นการคาดการเชิงปริมาณโดยใช้ข้อมมูลทางสถิติทำนายอนาคต
·         การหาฉันทามติด้วยเทคนิคทางวิทยาศาสตร์ (Delphi technique) เป็นการระดมความคิดของผู้เชี่ยวชาญโดยอ้อมซึ่งไม่รู้ว่าคนอื่นเป็นใครบ้าง มีข้อดีคือ ใช้เทคนิคเดลฟาย (10 ขั้นตอน พัฒนาแบบสอบถาม5 รอบ) วิเคราะห์ง่ายด้วยค่าสถิติพื้นฐาน มีความถูกต้องแม่นยำมากเพราะมีมุมมองครอบคลุมผ่านการคัดกรองหลายชั้น ข้อเสียคือใช้เวลามากเพราะต้องทำหลายรอบ หากผู้เชี่ยวชาญไม่เต็มใจให้ข้อมูลอาจได้คำตอบคืนมาไม่ครบ
·         การสร้างทัศนภาพ (scenario setting)  ผู้บริหารจะมีสำคัญในการพิจารณาทั้งแรงขับเคลื่อนระดับมหภาคและจุลภาค โดยการสร้างตาราง scenario matrix โดยแบ่งเป็นแกนปัจจัยด้านความไม่แน่นอนและแกนปัจจัยความสำคัญ  วิธีการสร้างภาพคือ พิจารณาว่าประเด็นทั้งมหภาคและจุลภาคแต่ละอย่างที่ list มามีแนวโน้มที่แน่นอนหรือไม่ และมีความสำคัญต่อระบบโรงพยาบาลอย่างไร
·        เครื่องมือทบทวนโดยการนำเข้าข้อมูลเพื่อการวิเคราะห์
·         ตารางประเมินปัจจัยภายนอก  (EFE)  มีวิธีการดำเนินเนินการดังนี้
§  เลือกประเด็นสำคัญที่เป็นโอกาส (opportunity)  และประเด็นที่เป็นอุปสรรค (threats) มาอย่างละ 5-10 ประเด็น
§  ให้น้ำหนักเป็น % ในแต่ละข้อ ว่าส่งผลกระทบต่อการเปลี่ยนแปลงมากน้อยแค่ไหน โดยผลรวมของทุกข้อต้องได้ 100 %
§  ให้ผู้บริหารระดับกลางพิจารณาว่าองค์การสามารถตอบสนองต่ออุปสรรคหรือโอกาสแต่ละข้อมากน้อยแค่ไหน ให้ใส่คะแนนเป็น 1- 4
§  คูนน้ำหนักกับคะแนน ได้เป็น  weight score ใช้ในการประกอบการตัดสินใจว่าต้องปรับโครงสร้างใดอย่างไร
§  รวม weight score ทั้งหมด ซึ่งจะมีค่าระหว่าง 1-4 ยิ่งใกล้ 4 แสดงว่ามีสมรรถนะสูง
·         ตารางประเมินปัจจัยภายใน (IFE) มีลักษณะคล้ายการทำ EFE โดยเลือกจุดแข็ง strength และจุดอ่อน weakness มาอย่างละ 5-10 ประเด็น และทำตามกระบวนการเดียวกัน
·         การวิเคราะห์สภาวะการแข่งขัน โดยใช้ five forces of competitive position (รายละเอียดการพิจารณาในหน่วยที่ 4 เรื่องการวิเคราะห์สภาวะแวดล้อมภายนอก)
·         ตารางเปรียบเทียบสภาวะการณืแข่งขัน (competitive profile matrix :CPM) ในในการเปรียบเทียบองค์กรในระดับเดียวกัน โดยพิจารณาสถานะของรพ.จาก five force model แล้วเลือกปัจจัยความสำเร็จที่สำคัญมาตั้งเป็นตัวเปรียบเทียบ มีขั้นตอนดังนี้
§  วิเคราะห์จากมุมมองทั้ง 4 ของ balance scorecard (หน่วยที่ 4 การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายใน)
§  นำตัวอย่างโรงพยาบาลอื่นมาเทียบกัน
§  ใช้แนวทางการให้น้ำหนักที่ร่วมกัน (คูณน้ำหนักกับคะแนนเหมือนการทำ EFE)
·        เครื่องมือวิเคราะห์เพื่อประกอบเป็นการกำหนดทางเลือกกลยุทธ์
·         SWOT matrix จะนำปัจจัยที่สำคัญที่มีคะแนนรวมสูงสุด 5 อันดับแรก มาพิจารณาร่วมกันให้ได้ผลลัพธ์ทางเลือกกลยุทธ์  โดยปัจจัยภายนอกนำมาจาก EFE, CPM เพื่อระบุโอกาสและอุปสรรค  ปัจจัยภายในจาก IFE เพื่อระบุแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงจุดอ่อนและจุดแข็ง


List  strength
List  weakness
List  opportunity
Use strength to take advantage of opportunity
Overcome weakness by taking advantage of opportunity
List  threat
Use strength avoid threat
Minimize weakness and avoid threat

หรือ อาจนำเสนอในรูป SWOT guidance (list ตาม balance scorecard)
·         SPACE matrix (strategic position & action evaluation matrix) นำข้อมูลจาก IFE, EFE, CPM มาพิจารณาโดยมี 4 แกนคือ
·         ความเข้มแข็งของอุตสาหกรรม (industry strength : IS)
·         ความเข้มแข็งทางการเงิน (financial strength : FS)
·         ความสามารถในการแข่งขัน (competitive advantage : CA)
·         ความเสถียรของปัจจัยแวดล้อมภายนอก (external stability : ES)
   
o   ให้ผู้บริหารหา position value ของทั้ง 4 ค่า  โดยมีคะแนนตั้งแต่ 1 ถึง 6 (+ หรือ -)
o   หา vector โดย
แกน x = position value CA ในแต่ละหัวข้อ + position value IS ในแต่ละหัวข้อ
แกน y = position value FS ในแต่ละหัวข้อ + position value ES ในแต่ละหัวข้อ
o   ลาก vector ดูว่าตกที่จตุภาคใด จะมีกลยุทธ์ตามจตุภาคนั้นๆ เช่นค่าแกน x และ y ได้ +4ทั้งคู่ จะตกที่จตุภาคที่ 1 จะมีกลยุทธ์รุกเป็นหนัก เน้นการลงทุนเพิ่มเป็นต้น       
·         BCG matrix (market growth share matrix) ใช้มุมมองการตลาดเป็นหลัก (ถือเป็นข้อจำกัด) จะพิจารณา 2 มิติ คือ
o   มิติแนวโน้วการเติบโตทางการตลาดของสินค้า (-20% to +20%)
o   มิติด้านส่วนแบ่งการตลาด (0 to 1 growth
o   จุดตัดว่าอยู่บริเวณใด
§  stars ใช้กลยุทธ์รุก
§  cash cows  ใช้จุดแข็งอุดการรั่วไหล ใช้กลยุทธ์แทรกซึมทางการตลาด ไม่ควรมีกลยุทธ์เชิงรุก
§  dogs ต้องปรับปรุงขนานใหญ่ โดยของความช่วยเหลือจากหน่วยอื่น
§  question mark มีอุปสงค์อยู่ แต่สินค้าขององค์กรไม่เป็นที่รู้จัก ต้องเน้นการประชาสัมพันธ์และการสื่อสาร
·         GE matrix ประยุกต์มาจาก BCG matrix โดยนำปัจจัยด้านความสามารถในการแข่งขันของหน่วยปฏิบัติการภายใน ปัจจัยเกี่ยวกบตลาดภายนอก และแผนภูมิสัดส่วนการตลาดมาพิจารณาด้วย โดยผู้บริหารจะพิจารณาในด้านต่างๆ ตามลำดับดังนี้
o   strategic business unit : SBU แต่ละหน่วยมีความเข้มแข็งเพียงใด โดยทำเป็น total weight score เหมือนการคำนวนตารางอื่นๆ และแบ่งเป็นช่วงความเข้มเข็ง 3 ช่วงตามแนวแกน x
o   พิจารณาความน่าสนใจของตลาดที่เกี่ยวข้องกับ SBU นั้นๆ แบ่งช่วงความน่าสนใจเป็น 3 ช่วงตามแนวแกน y
o   ทำกราฟวงกลมบรรจุในช่องใดช่องหนึ่งใน 9 ช่อง
                      
·         IE matrix ตารางประเมินปัจจัยภายนอกและภายใน นำตัวเลขจากการวิเคราห์ IFE, EFE มา plot โดยแกน y คือ คะแนนจาก EFE, แกน x คือคะแนนจาก IEF
เครื่องมือและขั้นตอนการตัดสินใจและเลือกลำดับความสำคัญกลยุทธ์ระดับองค์กรกับการบริหารโรงพยาบาล
·         ตารางวิเคราะห์แผนเชิงกลยุทธ์เชิงปริมาณ (quantitative strategic planning matrix : QSPM) จะทำกลยุทธ์ที่ได้ทั้งหมดมาเปรียบเทียบกับความเป็นไปได้ในการนำกลยุทธ์ไปปฏิบัติ และใช้ค่าคะแนนวิเคราะห์เพื่อลำดับความสำคัญก่อนหลังว่าเป็นกลยุทธ์เร่งด่วนหรือระยะปานกลาง
o   จะมีการให้คะแนนความน่าสนใจในประเด็นแต่ละด้าน ซึ่งนำไปคูณกับค่าน้ำหนัก และหาเป็นผลคะแนนรวมออกมาในแต่ละกลยุทธ์ แล้วเปรียบเทียบกับกลยุทธ์อื่น โดยกลยุทธ์ที่มี sum total attractive score: sum TAS สูงสุด คือเป็นกลยุทธ์เร่งด่วน และเป็นกลยุทธ์ที่มีความเป็นไปได้มากที่สุดที่จะนำลงมาสู่การปฏิบัติ
·         ขั้นตอนการตัดสินใจเลือกกลยุทธ์
o   ผู้เข้าร่วมระดมความคิดต้องมีความรู้กว้างขวาง
o   กำหนดตำแหน่งทางกลยุทธ์และกำดวทางการจัดสรรทรพยากร โดยพิจารณาทั้งตำแหน่งทางกลยุทธ์ของผู้บริหาร และตำแหน่งทางกลยุทธืในสายตาของประชาชน
o   ตัดสินใจภายใต้บริบทจากข้อมูลสถิติโดยไม่มีอคติ  ว่าต้องการเน้นโปรแกรมใดเป็นพิเศษ
o   ผู้เข้าร่วมระดมความคิดและกำหนดทางเลือก  ตัดสินใจเพื่อให้องค์กรก้าวหน้าทั้งด้านมิติการเงินและไม่ใช่การเงิน ได้แก่
§  ศักยภาพในการพัฒนาประสิทธิภาพของกระบวนการภายในและประสิทธิผล
§  ปัจจัยหลักแห่งความสำเร็จ ของรพ.ขนาดใหญ่และเล็กจะแตกต่างกัน
o   ตัวอย่างของนวัตกรรมการบริหารกลยุทธ์
§  กลยุทธ์เลือกทำสัญญา
§  กลยุทธ์การให้บริการเสริมและขยายขอบข่ายพื้นที่บริการ
§  กลยุทธ์การร่วมมือกันดูแลผู้ป่วยค่าใช้จ่ายสูง
§  กลยุทธ์กิจการร่วมค้า
§  กลยุทธ์ขยายงานบริการปฐมภูมิและขยายการจัดบริการแบบวันเดียว
§  กลยุทธ์ห้างสรรพสินค้า
§  บูรณาการแนวดิ่ง
§  กลยุทธ์เป็นผู้จัดการส่งต่อ
§  กลยุทธ์การจัดบริการเฉพาะกลุ่ม
                                    กลยุทธ์น่านน้ำสีน้ำเงิน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น