วันเสาร์ที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2554

กลยุทธ์ หน่วยที่ 3

หน่วยที่ 3 กระบวนการจัดทำกลยุทธ์
                ในกระบวนการจัดทำกลยุทธ์ การวิเคราห์ผูมีส่วนได้ส่วนเสีย (stakeholder) เป็นขั้นตอนที่ทำให้ทราบสภาพแนวโน้มหรือแรงกดดันต่อสุขภาวะขององค์กร เป็นการวิเคราะห์ให้  “รู้เขา” อย่างถี่ถ้วน และการวิเคราะห์องค์กรและผู้บริหาร เพื่อให้ทราบจุดแข็งจุดอ่อน เป็นการตรวจวินิจฉัยให้  “รู้เรา”
§  มีจุดประสงค์เพื่อทำความเข้าใจในประเด็นดังนี้
o   ความตั้งใจ พฤติกรรม ความสนใจพิเศษ วาระที่ต้องการของผู้มีส่าวนได้ส่วนเสียเหล่านั้น
o   เตรียมการไว้สำหรับขั้นนำกลยุทธ์ไปปฏิบัติ เพื่อรอการสนับสนุนจากผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในแง่ วิชาการ ทรัพยากร
o   เพื่อสัมพันธภาพที่ดี
การวิเคราะห์ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย
§  การกำหนดบริบทของผู้เกี่ยวข้อง
o   แต่ละองค์กรมีแนวทางการเติบโตที่แตกต่างกัน ดังนั้นก่อนวิเคราะห์ stakeholder ต้องกำหนดบริบทที่เป็นขององค์กรเอง เก็บรวบรวมข้อมูลส่วนบุคคลหรือองค์การ ข้อคิดเห็นของผู้ที่คาดว่าจะเป็นเป้าหมาย เพื่อเป็นการรับรองว่าแนวทางมที่ได้มาจะเป็นการรับประกันถึงความสำเร็จตามเป้าหรือกลยุทธ์ที่กำหนดไว้
o   ผู้บริหารมักกำหนดบริบทผู้มีส่วนได้ส่วนเสียโดยจะวิเคราะห์จาก
§  สามารถให้ข้อคิดเกี่ยวกับประสบการณ์ในอดีตที่ดีขององค์กร และให้ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับองค์กรข้างเคียงที่ประสบผลสำเร็จหรือล้มเหลว เพื่อเป็นแนวในการพัฒนา
§  มีความสามารถ รอบรู้ เกี่ยวกับสถานะองค์กรและการบริหารองค์กร เพื่อการปรับปรุงในประเด็นที่เห็นว่าจำเป็น
§  เป็นผูมีประสบการณ์หรือทักษะ ความรู้ที่สามารถให้ข้อคิดเกี่ยวกับวิศัยทัศน์ ฉากทัศน์แห่งอนาคต ในการพัฒนานโยบาย การปรับเปลี่ยนองค์กร ปรับเปลี่ยนวัฒนธรรม
§  การกำหนดทิศทางนโยบายที่เกี่ยวกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย คือการพิจารณาว่าการทำตามแผนกลยุทธ์แผนนี้ ผู้บริหารจะมีท่าที่เปิดรับความเห็นจากผู้มีส่วนได้ส่วนเสียอย่างไร มีนโยบายให้ผูมีส่วนได้ส่วนเสียเข้ามาเกี่ยวข้องอย่างไร  โดยมักพิจารณาจาก
o   ระยะเวลาดำเนินการ ทรัพยากรและความทุ่มเท
o   ประเด็นในกลยุทธ์เกี่ยวข้องกับกลุ่มใดบ้าง ระดับใด หรือพื้นที่ใด
o   แนวโน้มนโยบายมีทิศทางอย่างไร
o   ความคาดหวังของผู้บริหารต่อผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย
§  การเลือกและกำหนดผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่สำคัญ ( key stakeholder) เป็นสิ่งสำคัญมาก เนื่องจากจะได้ความเห็นที่มีอิทธิพลต่อแผนกลยุทธ์อย่างแท้จริง โดยลงทุนลงแรงในการติดต่อสัมภาษณ์น้อย จึงจำเป็นต้องเลือก key stakeholder จาก stakeholder มากมาย ซึ่งอาจใช้เกณฑ์พิจารณาดังนี้
o   ด้านอำนาจอิทธิพล เช่น
§  อยู่ในตำแหน่งหน้าที่อะไร ท่าทีต่อสาธารณะชนที่สามารถเหนี่ยวนำคนให้คล้อยตามได้เป็นอย่างไร 
§  มีระดับความสัมพันธ์กับชุมชน ประชาคม เครือข่ายต่างๆ อย่างไร  
§  มีทุนการเงิน ทุนทางสังคม ทุนความเชื่อถือแค่ไหน
§  มีภาวะผู้นำและชื่อเสียงอย่างไร
o   ด้านความสนใจเป็นพิเศษ
§  ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียนั้น มีความรู้ ความเข้าใจ ทัศนคติ ต่อการบริการสุขภาพแค่ไหน สนใจต่อการพัฒนาหรือไม่
§  มีการเข้ามาปฏิสัมพันธ์หรือเข้ามาสนใจต่อกิจกราหรือไม่
§  มีผลประโยชน์ทับซ้อนและเคยใช้ประโยชน์ทับซ้อนแก่ตนหรือองค์กรหรือไม่
o   สำหรับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียภายในและภายนอก พิจารณาความเป็นผู้นำในการพัฒนา หรือเป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลง
§  ประโยชน์จากการวิเคราะห์ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียเป็นเครื่องมือต่อการบริหารกลยุทธ์ นอกจากจะใช้ข้อคิดเห็นเป็นเครื่องมือในการพัฒนากลยุทธ์แล้ว ยังทำให้ผู้บริการรู้ท่าทีบุคลิก อำนาจอิทธิพลของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียดังกล่าว อีกทั้งยังก่อให้เกิดความสัมพันธ์ที่ดีต่อกันด้วย โดยสามารถแบ่งเป็น 4 กลุ่มคือ
o   high power-high interest ต้องรีบเปิดแนวรุกเข้าไปทำความรู้จัก ชักชวนมาทำงาน
o   high power-low interest rพวกนักการเมืองท้องถิ่น หัวหน้าส่วนราชการ ให้หาโอกาสเข้าถึง
o   low power-high interest  พวกบุคลากรสายวิชาชีพ อาจให้ช่วยประเมินตัวชีวัดในหน่วยงาน
o   low power-low interest เฝ้าติดตาม ระวังไม่ให้กลายเป็นผู้ขัดขวาง
การวิเคราะห์องค์การและผู้บริหาร
·         การวิเคราะห์ตำแหน่งทางกลยุทธ์ มีประโยชฯในแง่ รู้ถี่ถ้วนว่าตนอยู่ตรงไหน มีจุดแข็งจุดอ่อนอะไร เพื่อการขับเคลื่อนหรือริเริ่มกลยุทธ์ไปสู่เป้าหมายได้ง่าย โดยพิจารณาใน 3 มิติคือ
o   บริการหรือความหลากหลายของผลิตภัณฑ์ มีมากน้อยเพียงใดให้ดูที่ระดับความสัมพันธ์ของทีมบริการและผู้ป่วย ขอบข่ายการให้บริการคุณภาพมี scope แค่ไหน
o   การเข้าถึงของผู้บริโภค พิจารณาในแง่ พื้นที่ในการให้บริการ เวลาในการเข้าถึง และการเข้าถึงนวัตกรรมต่างๆ
o   ความต้องการของผู้บริโภค
·         รูปแบบการวิเคราะห์องค์การและการบริการองค์การ  จะต้องมีความเข้าใจพื้นฐานก่อนในเรื่อง โครงสร้างองค์กร ศักยภาพในการผลิต ความสอดคล้องของบริบท จารีตปฏิบัติ ความสามารถในการแข่งขันและหาข้อสรุป  “สถานการณ์ความมั่นคงแข็งแรงขององค์กร”  โดยนำรูปแบบการวิเคราะห์ชนิดต่างๆ มาประยุกต์ใช้เป็นเครื่องมือได้แก่
o   4 frame model จะเป็นกรอบการวิเคราะห์ 4 ด้าน  ได้แก่
§  ด้านโครงสร้าง ดูว่าใครมีบทบาทสำคัญ รูปแบบความสัมพันธ์ภายใน การแบ่งภารกิจหน้าที่ การบริหารเป็นแบบทางการแค่ไหน ขนาดขององค์การใหญ่แค่ไหน เพื่อสร้างความร่วมมือให้มากที่สุด
§  ด้านทรัพยากรมนุษย์ เพื่อใช้ประโยชน์ได้คุ้มค่าและสูงสุด
§  ด้านการเมืองภายใน ผู้บริหารมีทักษะการจัดสรรอำนาจอย่างไร เพื่อความเป็นเอกภาพ และเพิ่มทักษาด้านการเมือง
§  ด้านการสื่อสารภายในองค์กรเชิงสัญลักษณ์เพื่อบริหารสัญลักษณ์ ประเพณีที่เป็นจุดเด่นจุดด้อยขององค์กร
o   socio-technical system  คือการดูว่าองค์กรมีความกลมกลืนในการใช้เทคโนโลยี เทคนิกต่างๆกับวัฒนธรรมหรือประเพณีของค์กรเพียงไร  ซึ่งโดยปกติสองระบบนั้นต้องพึ่งพิงกัน การลงทุนหรือการเปลี่ยนแปลงควรจะทำควบคู่กันไป
o   Star model  มีสมมุติฐานว่า นโยบายที่ออกแบบไว้อย่างดี จะสามารถควบคุมการบริหารและพฤติกรรมของผู้ปฏิบัติงานได้ ด้วย 5 ปัจจัย คือ
§  กลยุทธ์ ผู้บริหารมีท่าทีการบริหารอย่างไร
§  โครงสร้าง พิจารณาในแง่ความเชี่ยวชาญเฉพาะ รูปร่างขนาดองค์กร การจัดสรรอำนาจ การแบ่งแผนกหรือกลุ่มงาน
§  กระบวนการ มีระบบการสื่อสารอย่างไรทั้งแนวดิ่งและแนวราบ
§  ระบบแรงจูงใจและรางวัล
§  ผู้คนในองค์การ โดยวิเคราะห์ทักษะ แบบแผนความคิด
o   7 S model มีแนวคิดว่าประสิทธิภาพขององค์กรมีความสัมพันธ์กับ strategy, structure, system, staff, skill, style, shared  values
o   congruence model คือโมเดลความลงรอยกัน มีสมมุติฐานว่า เหตุที่ลงรอยกันจะก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงองค์กร  พิจารณาจาก input, transformation process, output
เทคนิคการจัดทำกลยุทธ์สู่การปฏิบัติ
·        เทคนิคการจัดทำกลยุทธ์ ต้องเน้นเทคนิกการสื่อสารในประเด็นหลักเพื่อป้องกันไม่ให้แผนที่จัดทำขึ้นเป็นแค่เครื่องมือทางการบริหารที่ไม่ได้ใช้ประโยชน์ นอกจากนั้นผู้บริหารต้องใช้การตัดสินใจที่มีความหมายและรวดเร็วให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลง
·        การจัดทำกลยุทธ์มีแนวทางการเลือกดำเนินการ เช่น
o   ใช้ฐานคิดทางการเงินและการตรวจสอบรายการ
o   ใช้ฐานการกำหนดตำแหน่ง/ความต้องการ (positioning/niches) เช่น พิจารณาทรัพยากร, core copetency
o   ใช้คุณค่าในสายตาผู้บริโภคเป็นสำคัญ เช่น กลยุทธ์ blue ocean, การสร้างสรรค์ประสบการณ์แห่งคุณค่าแก่ผู้บริโภค การตลาดระหว่างบุคคล
o   ใช้ผลิตภาพ/คุณภาพชี้นำ เช่น TQM/six sigma  LEAN organization
o   ใช้การบริหารความเสี่ยง
o   ใช้กลยุทธ์ในการรับผิดชอบสังคม
o   ใช้นวัตกรรมชี้นำ
·        การเลือกเทคนิคใดในการทำกลยุทธ์ขึ้นอยู่กับ ระดับความผันผวนของสภาพแวดล้อมการบริหารซึ่ง แบ่งเป็น 5ระดับ คือ เสถียร, กำลังขยายตัว, กำลังมีการเปลี่ยนแปลง, ไม่มีรูปแบบต่อเนื่อง, เกิดอย่างไม่คาดฝัน
·        การจัดทำกลยุทธ์สู่การปฏิบัติ มีทั้งแนว top down และ bottom up โดยจะต้องดำเนินการอย่างต่อเนื่องและมีการพัฒนาเหลื่อมปีเพื่อเชื่อมโยงต่อไป

1 ความคิดเห็น:

  1. Slotty Casino & Resort - Mapyro
    Check out 충청북도 출장안마 our selection of slotty casinos and 과천 출장마사지 other 충청북도 출장안마 gaming facilities near you from Mapyro. Take a spin on our casino floor, or check out 속초 출장샵 our 광양 출장샵 restaurants near you from

    ตอบลบ